สาระน่ารู้ของประเทศมาเลเซีย Malaysia

ทัวร์มาเลเซียได้พาท่านไปรู้จักข้อมูลเบื้องต้นไปบ้างแล้ว วันนี้เราจะมาต่อเนื่องกัน เกี่ยวกับเพลงชาติ ภาษา และศาสนา กันจ้า

tour-016
เนอการากู – เพลงชาติมาเลเซีย
ถึงคิวของเพลงชาติของประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ของเราบ้าง คือ มาเลเซีย จากการที่เป็นประเทศประชาธิปไตยเหมือนกัน มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเหมือนกัน จึงเป็นประเทศที่มีความใกล้ชิดกันทางการเมืองกับไทยยิ่งกว่าประเทศเพื่อน บ้านอื่นๆ ที่เป็นสังคมนิยมด้วยซ้ำ ส่วนเรื่องการค้าหรือวัฒนธรรมก็อีกเรื่อง
เพลง ชาติมาเลเซีย มีชื่อว่า “เนอการากู” (Negaraku แปลว่า “ประเทศของฉัน”) เพลงนี้ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติมาเลเชียในสมัยสหพันธรัฐมลายาเมื่อปี พ.ศ. 2500 ทำนองเพลงนี้เดิมใช้เป็นเพลงคำนับประจำรัฐเประ และเคยใช้เป็นทำนองเพลงยอดนิยมในมาเลเซียสมัยหนึ่งที่ชื่อว่า เตอรัง บูลัน (Terang Bulan) ซึ่งหยิบยืมทำนองมาจากเพลงฮาวายชื่อ เพลงมามูลา มูน (Mamula Moon) อีกชั้นหนึ่ง
เพลงเนอการากูมีการบรรเลงอยู่ 2 แบบ คือ การบรรเลงแบบสังเขป ซึ่งใช้ในโอกาสต่างๆ โดยทั่วไป และการบรรเลงแบบเต็มฉบับ ใช้ในยามที่ยังดี เปอร์ตวน อากง (พระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย) เสด็จออกในงานทางราชการ
ภาษา: Language
ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู ซึ่งเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า Bahasa Melayu เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา เป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์ตะวันออก
ในการใช้ภาษาโดยทั่วไป ถือว่าเหมือนกัน หรือสื่อสารเข้าใจกันได้กับภาษาอินโดนีเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) อันเป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย แต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึงแตกต่างกันไป แต่ไม่มากนัก
มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ว่าใช้บาฮาซารีเยา (Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายูมาช้านาน

ข้อมูลทั้งหมดประดับความรู้ก่อนทัวร์มาเลเซียให้สนุกได้รสชาติ
ศาสนาและวัฒนธรรม
มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเชีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทาง ภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย “ภูมิบุตร”

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.